Powered By Blogger

วันพุธที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

ระบบสารสนเทศเพื่อสนับสนุนการตัดสินใจ



ระบบสารสนเทศเพื่อสนับสนุนการตัดสินใจ



1.ระบบสารสนเทศเพื่อสนับสนุนการตัดสินใจ ความหมาย
ตอบ DSS เป็นซอฟแวร์ที่ช่วยในการตัดสินใจเกี่ยวกับการจัดการ การรวบรวมข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูล และการสร้างตัวแบบที่ซับซ้อน ภายใต้ซอฟต์แวร์เดียวกัน นอกจากนั้น DSSยังเป็นการประสานการทำงานระหว่างบุคลากรกับเทคโนโลยีทางด้านซอฟต์แวร์ โดยเป็นการกระทำโต้ตอบกัน เพื่อแก้ปัญหาแบบไม่มีโครงสร้าง และอยู่ภายใต้การควบคุมของผู้ใช้ตั้งแต่เริ่มต้นถึงสิ้นสุดขั้นตอนหรืออาจกล่าวได้ว่า DSS เป็นระบบที่โต้ตอบกันโดยใช้คอมพิวเตอร์ เพื่อหาคำตอบที่ง่าย สะดวก รวดเร็วจากปัญหาที่ไม่มีโครงสร้างที่แน่นอน ดังนั้นระบบการสนับสนุนการตัดสินใจ จึงประกอบด้วยชุดเครื่องมือ ข้อมูล ตัวแบบ (Model) และทรัพยากรอื่นๆ ที่ผู้ใช้หรือนักวิเคราะห์นำมาใช้ในการประเมินผลและแก้ไขปัญหา ดังนั้นหลักการของDSS จึงเป็นการให้เครื่องมือที่จำเป็นแก่ผู้บริหาร ในการวิเคราะห์ข้อมูลที่มีรูปแบบที่ซับซ้อน แต่มีวิธีการปฏิบัติที่ยืดหยุ่น DSS จึงถูกออกแบบเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน ไม่เพียงแต่การตอบสนองในเรื่องความต้องการของข้อมูลเท่านั้น


2.ประเภทของระบบสารสนเทศเพื่อสนับสนุนการตัดสินใจ
  2.1 มี 2 ประเภทได้แก่
  - EIS(executive information system)  แปลว่า ระบบสารสนเทศเพื่อผู้บริหาร
       หมายถึง การนำสารสนเทศหรือข้อมูลต่าง ๆ มาเก็บไว้ในรูปแบบที่ผู้บริหารมักจะต้องการใช้ และสามารถจะเรียกมาดู หรือใช้ได้สะดวก
       ระบบข่าวสารเพื่อการบริหารชั้นสูง (EIS) เป็นระบบข่าวสารที่มีความสำคัญต่อผู้บริหารองค์กร
ในเรื่องการพิจารณากำหนดนโยบาย วางแผนกลยุทธ์ขององค์กร ให้สามารถจัดการองค์กร ให้สามารถดำเนินการบรรลุเป้าหมายหรือแข่งขันกับองค์กรอื่น ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
       การจัดทำระบบข่าวสารเพื่อการบริหารชั้นสูง มิอาจจัดทำโดยเอกเทศได้โดยลำพัง จะต้องรอผลการพัฒนาระบบข้อมูล-ข่าวสารขั้นต้นอื่นๆ ขึ้นก่อน ข้อมูลที่ได้จากการปฏิบัติงานในระบบ TPS, MIS และ/หรือ DSS จะเป็นรากฐานที่สามารถนำมาสรุปประมวลผลกับข้อมูลภายนอก (ถ้าจำเป็น)  เพื่อประกอบการตัดสินใจ บ่อยครั้งการพัฒนาระบบ EIS จากวิธีการข้างต้น มิอาจได้ข้อมูลภายในองค์กรอย่างครบถ้วน
       

 - GDSS (Group Decision Support Systems) แปลว่าความ ระบบสนับสนุนการตัดสินใจแบบกลุ่ม
       หมายของระบบสนับสนุนการตัดสินใจแบบกลุ่ม
Huber (1984) ระบบสนับสนุนการตัดสินใจแบบกลุ่ม หมายถึง การผสมผสานการใช้งานระหว่าง ซอฟต์แวร์ ฮาร์ดแวร์ ภาษา และกระบวนการเพื่อการสนับสนุนการประชุมกลุ่มคนที่เกี่ยวข้องกับการตัดสินใจต่อเหตุการณ์ใดเหตุการณ์หนึ่ง
       
       DeSanctis, Gallupe (1987) ระบบสนับสนุนการตัดสินใจแบบกลุ่ม หมายถึง ระบบที่มีปฏิสัมพันธ์ด้วยระบบคอมพิวเตอร์ ซึ่งจะอำนวยความสะดวกให้กลุ่มคนในเรื่องของการตัดสินใจแก้ไขปัญหาที่ไม่มีโครงสร้าง ดังนั้น องค์ประกอบของระบบสนับสนุนการตัดสินใจแบบกลุ่ม จึงต้องประกอบด้วย ซอฟต์แวร์ ฮาร์ดแวร์ ผู้ใช้ และกระบวนการที่ใช้สนับสนุนการดำเนินการประชุม จนสามารถทำให้การประชุมเป้นไปด้วยดี
       ดังนั้น ระบบสนับสนุนการตัดสินใจแบบกลุ่ม จึงต้องประกอบไปด้วยเครื่องมือชนิดอื่นๆ อีกมากมายที่จะอำนวยความสะดวกให้ผู้ร่วมตัดสินใจได้ เพิ่มความรวดเร็วในการตัดสินใจ และใช้งานร่วมกันได้


3.จงบอกความแตกต่างระหว่าง ETS กับ GDSS 
              DSS = เน้นการตัดสินใจแบบกึ่งโครงสร้าง (Semi structured decision making) มีการใช้ข้อมูลข่าวสารจากระบบ MIS และข้อมูลจากภายนอกบางส่วนมาช่วยในการปรับปรุง หรือ กำหนดแผนงานที่จะต้องสนองเป้าหมายหลักขององค์กรให้มากที่สุด เช่น ระบบ Data miming เป็นต้น

           EIS = เน้นการตัดสินใจแบบไร้โครงสร้าง (Unstructured decision making) จุดมุ่งหมายของระบบ EIS คือ ช่วยให้ผู้บริหารมองเห็นแนวทาง ความเป็นไปที่เป็นมา และกำลังจะมีแนวโน้มไปทางใด เพื่อให้สามารถกำหนดนโยบาย เป้าหมาย หลักๆ ขององค์กรให้สามารถธำรงองค์กรไว้ได้ แข่งขันกับคู่แข่งขันได้อย่างดี ตัวอย่างเช่นระบบ วางแผนกลยุทธ์ Strategic planning เป็นต้น จะเป็นมาตรการสิ่งที่ได้จากการตัดสินใจของผู้บริหารชั้นสูงที่ใช้สั่งการไปสู่ผู้บริหารระดับกลาง เพื่อปรับแผนงานและกระทบถึงผู้บริหารระดับต้น เพื่อปฏิบัติตามแผนงาน ใหม่ต่อไป
   

วันพุธที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2557

ทรัพย์สินทางปัญญา


1.รัย์สิปั ถึ?
                    
- ผลงานอันเกิดจากความคิดสร้างสรรค์ของมนุษย์ ทรัพย์สินทางปัญญาเป็นทรัพย์สินอีกชนิดหนึ่ง นอกเหนือจากสังหาริมทรัพย์ คือ ทรัพย์สินที่สามารถเคลื่อนย้ายได้ เช่น นาฬิกา รถยนต์ โต๊ะ เป็นต้น และอสังหาริมทรัพย์ คือ ทรัพย์สินที่ไม่สามารถเคลื่อนย้ายได้ เช่น บ้าน ที่ดิน เป็นต้น





2.ลิสิธิ์ ถึ?


- งานหรือความคิดสร้างสรรค์ในสาขาวรรณกรรม ศิลปกรรม ดนตรีกรรม งานภาพยนต์ หรืองานอื่นใดในแผนกวิทยาศาสตร์ลิขสิทธิ์ยังรวมทั้ง
  • สิทธิค้างเคียง (Neighbouring Right) คือ การนำเอางานด้านลิขสิทธิ์ออกแสดง เช่น นักแสดง ผู้บันทึกเสียงและสถานีวิทยุโทรทัศน์ในการบันทึกหรือถ่ายทอดเสียงหรือภาพ
  • โปรแกรมคอมพิวเตอร์ (Computer Program หรือ Computer Software) คือ ชุดคำสั่งที่ใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ เพื่อกำหนดให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงาน
  • งานฐานข้อมูล (Data Base) คือ ข้อมูลที่ได้รับเก็บรวบรวมขึ้นเพื่อใช้ประโยชน์ด้านต่างๆ



3.สิธิบั ถึ?

- หนังสือสำคัญที่รัฐออกให้เพื่อคุ้มครองการประดิษฐ์ (Invention) การออกแบบผลิตภัณฑ์ (Product Design) หรือ ผลิตภัณฑ์อรรถประโยชน์ (Utility Model) ที่มีลักษณะตามที่
กฎหมายกำหนด




4.ขั้บีรื่ค้

การตรวจค้น

1. แนะนำให้ผู้ยื่นดำเนินการตรวจค้นเครื่องหมายที่จะขอจดว่าเหมือนหรือคล้ายเครื่องหมายของผู้อืนหรือไม่ 
2. ผู้ค้นต้องเสียค่าธรรมเนียมในการตรวจค้น 100 บาท/1 ชั่วโมง
การยื่นขอจดทะเบียน
1. ผู้ยื่นต้องเตรียมเอกสารตามที่กฎหมายกำหนดและกรอกข้อความให้สมบูรณ์ได้แก่ - คำขอจดทะเบียน (ก. 01) พร้อมสำเนา จำนวน 10 แผ่น - การ์ด (ก. 16) จำนวน 2 แผ่น - หนังสือมอบอำนาจ (ถ้ามีการมอบอำนาจ) ติดอากร 30 บาท ต่อผู้รับมอบอำนาจ 1 คน - สำเนาบัตรประจำตัว (ถ้าผู้ขอเป็นบุคคลธรรมดา) - ต้นฉบับหนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคล ที่นายทะเบียนออกให้ไม่เกิน6เดือน นับจนถึงวันยื่นคำขอ (ถ้าผู้ขอเป็นนิติบุคคล) - ถ้าผู้ขออยู่ต่างประเทศให้โนตารี พับลิครับรองเอกสารด้วย - รูปเครื่องหมายจำนวน 10 รูป 
2. ยื่นเอกสารต่อเจ้าหน้าที่พร้อมทั้งชำระค่าธรรมเนียม500 บาท ต่อสินค้า/บริการ 1 อย่าง
การตรวจสอบ
1. ในขั้นแรกเจ้าหน้าที่จะตรวจสอบเบื้องต้น (Preliminary check) คือตรวจสอบความถูกต้องของเอกสารเท่านั้น (Documentary check) 
2. ต่อมาเจ้าหน้าที่ตรวจสอบและนายทะเบียนจะตรวจสอบว่าเครื่องหมายการค้าที่ขอจดทะเบียน มีลักษณะตามที่กฎหมายกำหนดไว้หรือไม่ กล่าวคือ - ต้องมีลักษณะบ่งเฉพาะ - ไม่มีลักษณะต้องห้ามตามกฎหมายและ - ไม่เหมือนหรือคล้ายกับเครื่องหมายของผู้อื่นในชั้นนี้จะใช้เวลาตรวจสอบประมาณ 3 เดือน ต่อ 1 คำขอ
3. ภายหลังตรวจสอบแล้ว เจ้าหน้าที่จะแจ้งผู้ยื่นคำขอทราบผลการตรวจสอบดังต่อไปนี้ ตามแต่กรณี - การรับจดทะเบียน - ปฏิเสธไม่รับจดทะเบียน - ให้แก้ไขคำขอ - แจ้งผู้ยื่นคำขอว่า เครื่องหมายที่ขอจดทะเบียน มีผู้อื่นยื่นขอจดทะเบียนไว้เช่นกัน ขอให้ผู้ยื่น ไปตกลงกันเองก่อน
การแจ้งให้แก้ไขคำขอ
ผู้ขอจดทะเบียนต้องดำเนินการแก้ไขให้ถูกต้องไม่ว่าจะเป็นการพิมพ์ผิด ระบุข้อความไม่ครบถ้วน ไม่ได้ลงลายมือชื่อ ฯลฯ โดยคิดค่าธรรมเนียมคำขอละ 200 บาท
การแจ้งให้ตกลงกันก่อน
1. ถ้าผู้ยื่นคำขอตกลงกันได้และแจ้งให้เจ้าหน้าที่ทราบว่าใครได้สิทธิในเครื่องหมายการค้านั้นไป เจ้าหน้าที่จะดำเนินการประกาศโฆษณาต่อไป 2. ถ้าผู้ยื่นคำขอไม่สามารถตกลงกันได้คำขอจดทะเบียนที่ยื่นก่อนจะได้รับการจดทะเบียน ตามหลัก ใครยื่นก่อนมีสิทธิดีกว่า (first-to-file)
การแจ้งไม่ปฏิเสธคำขอ
1. เจ้าหน้าที่จะดำเนินการประกาศโฆษณาต่อไป 
2. บางกรณีเจ้าหน้าที่จะแจ้งให้ผู้ยื่นคำขอสละสิทธิในคำขอบางส่วนเนื่องจากบางส่วนของ เครื่องหมายเป็นสิ่งที่ใช้กับสามัญในการค้าขายหรือไม่มีลักษณะบ่งเฉพาะ - ถ้าผู้ยื่นคำขอยอมสละสิทธิ ผู้ยื่นคำขอต้องแจ้งนายทะเบียนทราบ - ถ้าผู้ยื่นคำขอไม่เห็นด้วยกับนายทะเบียน ผู้ยื่นคำขออาจดำเนินการอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าก็ได้ ภายใน 90 วันนับแต่วันที่ได้รับหนังสือแจ้งคำสั่ง โดยชำระค่าธรรมเนียมการอุทธรณ์คำขอฉบับละ 2,000 บาท
การแจ้งปฏิเสธ
1. ถ้าผู้ยื่นคำขอไม่อุทธรณ์คำสั่งของพนักงานเจ้าหน้าที่นายทะเบียนก็จะจำหน่ายคำขอนั้นออกจากสารบบ 
2. ถ้าผู้ยื่นคำขอประสงค์จะอุทธรณ์คำสั่งของพนักงานเจ้าหน้าที่ให้ดำเนินการยื่นคำอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าภายใน 90 วันนับตั้งแต่วันที่รับหนังสือแจ้งคำสั่งโดยชำระค่าธรรมเนียมคำขอฉบับละ 2,000 บาท 
3. เมื่อคณะกรรมการเครื่องหมายการค้ามีคำวินิจฉัยแล้ว จะแจ้งคำวินิจฉัยให้นายทะเบียน ทราบดังนี้ - ถ้าวินิจฉัยเห็นควรให้จดทะเบียน นายทะเบียนจะดำเนินการประกาศโฆษณาต่อไป - ถ้าวินิจฉัยไม่รับจดทะเบียนนายทะเบียนจะจำหน่ายคำขอจดทะเบียนออกนอกสารบบและคำวินิจฉัยของคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าถือเป็นที่สุด
การประกาศโฆษณา
1. ถ้านายทะเบียนเห็นสมควรรับจดทะเบียนนายทะเบียนมีคำสั่งประกาศโฆษณาคำขอจดทะเบียนและมีหนังสือแจ้งให้ผู้ขอจดทะเบียนมาชำระค่าธรรมเนียมประกาศโฆษณาคำขอละ 200 บาท ภายใน30 วัน นับแต่วันที่ได้รับหนังสือแจ้ง-ถ้าไม่ชำระค่าธรรมเนียมภายใน 30 วันถือว่าละทิ้งคำขอ - เมื่อชำระค่าธรรมเนียมแล้ว นายทะเบียนจะประกาศโฆษณาคำขอจดทะเบียนและจะรอ การประกาศเอาไว้ 90 วัน-ถ้าไม่มีการคัดค้านการจดทะเบียนเจ้าหน้าที่ก็จะดำเนินการจดทะเบียนเครื่องหมายนั้น ต่อไป-ถ้ามีการคัดค้านการจดทะเบียนโดยเหตุหนึ่ง เหตุใดเช่น เครื่องหมายการค้าไม่มีลักษณะ ที่จดทะเบียนได้, เครื่องหมายการค้าไม่ได้เป็นของผู้จดทะเบียน หรือการจดทะเบียน ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ผู้คัดค้านต้องยื่นคำคัดค้านต่อเจ้าหน้าที่พร้อมแสดงหลักฐาน และเหตุผล และชำระค่าธรรมเนียมค่าคำคัดค้าน 1,000 บาท 
2. เจ้าหน้าที่จะแจ้งให้ผู้ยื่นคำขอทราบว่ามีบุคคล คัดค้านการจดทะเบียนคำขอนั้น - ถ้าผู้ยื่นคำขอไม่ประสงค์จะโต้แย้งการคัดค้านนายทะเบียนจะจำหน่ายคำขอออกจากสารบบ - ถ้าผู้ยื่นคำขอประสงค์จะโต้แย้งการคัดค้านให้ยื่นคำโต้แย้งต่อนายทะเบียนภายใน 90วัน นับแต่วันที่ได้รับสำเนาการคัดค้าน 
3. นายทะเบียนจะพิจารณาในประเด็นที่คัดค้านนั้น เมื่อมีคำวินิจฉัยแล้ว จะแจ้งไปให้คู่กรณีทราบ 
4. คู่กรณีที่เสียประโยชน์อาจอุทธรณ์คำวินิจฉัยของนายทะเบียนได้โดนยื่นคำอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าภายใน 90 วัน นับตั้งแต่วันที่ทราบคำวินิจฉัยของนายทะเบียน โดยชำระค่าธรรมเนียมคำขอฉบับละ2,000 บาท 
5. เมื่อคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าได้วินิจฉัยแล้วนายทะเบียนจะแจ้งผลการวินิจฉัยของคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าให้แก่คู่กรณีทราบ 
6. ถ้าคู่กรณีฝ่ายที่เสียประโยชน์ไม่เห็นด้วยกับคำวินิจฉัยผู้นั้นอาจนำคดีขึ้นฟ้องศาลได้ภายใน 90 วันนับแต่วันที่ทราบผลคำวินิจฉัยของคณะกรรมการเครื่องหมายการค้า
การจดทะเบียน
1. เครื่องหมายที่มีลักษณะบ่งเฉพาะ และไม่มีลักษณะต้องห้ามตามกฎหมาย เมื่อผ่านการตรวจสอบจากนายทะเบียนและได้ประกาศโฆษณาแล้ว และผ่านกระบวนการคัดค้านและอุทธรณ์ จนถึงที่สุด เป็นเครื่องหมายที่สามารถจดทะเบียนได้ นายทะเบียนจะแจ้งไปยังผู้ยื่นคำขอทราบให้ดำเนินการชำระค่าธรรมเนียมภายใน 30 วันนับแต่วันที่ได้รับหนังสือเจ้ง 
2. เมื่อผู้ยื่นคำขอชำระค่าธรรมเนียม ผู้ยื่นคำขอจะได้รับหนังสือสำคัญแสดงการจดทะเบียนไว้เป็นหลักฐาน โดยชำระค่าธรรมเนียมสินค้าหรือบริการอย่างละ 300 บาท




วันพุธที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

ขั้นตอนการทำโครงงานคอมพิวเตอร์


ขั้นตอนการทำโครงงานคอมพิวเตอร์
          1. คัดเลือกหัวข้อโครงงานที่สนใจ
          2. ศึกษาค้นคว้าจากเอกสารและแหล่งข้อมูล
          3. จัดทำเค้าโครงของโครงงาน
          4. การลงมือทำโครงงาน
          5. การเขียนรายงาน
          6. การนำเสนอและแสดงโครงงาน
1. คัดเลือกหัวข้อโครงงานที่สนใจ
          โดยทั่วไปเรื่องที่จะนำมาพัฒนาเป็นโครงงานคอมพิวเตอร์ มักจะได้มาจากปัญหา คำถาม หรือความสนใจในเรื่องต่างๆ จากการสังเกตสิ่งต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับระบบคอมพิวเตอร์ หรือสิ่งต่างๆ รอบตัว ปัญหาที่จะนำมาพัฒนาโครงงานคอมพิวเตอร์ได้จากแหล่งต่างๆ กัน ดังนี้
          1. การอ่านค้นคว้าจากหนังสือ เอกสาร หนังสือพิมพ์ หรือวารสารต่างๆ
          2. การไปเยี่ยมชมสถานที่ต่างๆ
          3. การฟังบรรยายทางวิชาการ รายการวิทยุและโทรทัศน์ รวมทั้งการสนทนาอภิปรายแลกเปลี่ยนความคิดเห็นระหว่างเพื่อนนักเรียนหรือกับบุคคลอื่นๆ
          4. กิจกรรมการเรียนการสอนในโรงเรียน
          5. งานอดิเรกของนักเรียน
          6. การเข้าชมงานนิทรรศการหรืองานประกวดโครงงานคอมพิวเตอร์
ในการตัดสินใจเลือกหัวข้อที่จะนำมาพัฒนาโครงงานคอมพิวเตอร์ ควรพิจารณาองค์ประกอบสำคัญ ดังนี้
          1. ต้องมีความรู้และทักษะพื้นฐานอย่างเพียงพอในหัวข้อเรื่องที่จะศึกษา
          2. สามารถจัดหาเครื่องคอมพิวเตอร์ ซอฟต์แวร์ และวัสดุอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องได้
          3. มีแหล่งความรู้เพียงพอที่จะค้นคว้าหรือขอคำปรึกษา
          4. มีเวลาเพียงพอ
          5. มีงบประมาณเพียงพอ
          6. มีความปลอดภัย

2. ศึกษาค้นคว้าจากเอกสารและแหล่งข้อมูล
          การศึกษาค้นคว้าจากเอกสารและแหล่งข้อมูล ซึ่งรวมถึงการขอคำปรึกษาจากผู้ทรงคุณวุฒิ จะช่วยให้นักเรียนได้แนวคิดที่ใช้ในการกำหนดขอบเขตของเรื่องที่จะศึกษาได้เฉพาะเจาะจงมากยิ่งขึ้น รวมทั้งได้ความรู้เพิ่มเติมในเรื่องที่จะศึกษาจนสามารถใช้ออกแบบและวางแผนดำเนินการทำโครงงานนั้นได้อย่างเหมาะสม ในการศึกษาจะต้องได้คำตอบว่า
          1. จะทำ อะไร
          2. ทำไมต้องทำ
          3. ต้องการให้เกิดอะไร
          4. ทำอย่างไร
          5. ใช้ทรัพยากรอะไร
          6. ทำกับใคร
          7. เสนอผลอย่างไร

3. องค์ประกอบของเค้าโครงของโครงงาน 

 4. การลงมือทำโครงงาน
          เมื่อเค้าโครงของโครงงานได้รับความเห็นชอบจากอาจารย์ที่ปรึกษาแล้ว ก็เสมือนว่าการจัดทำโครงงานได้ผ่านพ้นไปแล้วมากกว่าครึ่ง ขั้นตอนต่อไปจะเป็นการลงมือพัฒนาตามขั้นตอนที่วางแผนไว้ ดังนี้
     4.1 การเตรียมการ
          การเตรียมการ ต้องเตรียมเครื่องคอมพิวเตอร์ ซอฟต์แวร์ และวัสดุอื่นๆ ที่จะใช้ในการพัฒนาให้พร้อมด้วย และควรเตรียมสมุดบันทึกหรือบันทึกเป็นแฟ้มข้อความไว้ในระบบคอมพิวเตอร์ สำหรับบันทึกการทำกิจกรรมต่างๆ ระหว่างทำโครงงาน ได้แก่ ได้ปฏิบัติอย่างไร ได้ผลอย่างไร มีปัญหาและแก้ไขได้หรือไม่อย่างไร รวมทั้งข้อสังเกตต่างๆ ที่พบ
     4.2 การลงมือพัฒนา
          1. ปฏิบัติตามแผนงานที่วางไว้ในเค้าโครง แต่อาจเปลี่ยนแปลงหรือเพิ่มเติมได้ถ้าพบว่าจะช่วยทำให้ผลงานดีขึ้น
          2. จัดระบบการทำงานโดยทำส่วนที่เป็นหลักสำคัญๆ ให้แล้วเสร็จก่อน จึงค่่อยทำ ส่วนที่เป็นส่วนประกอบหรือส่วนเสริมเพื่อให้โครงงานมีความสมบูรณ์มากขึ้น และถ้ามีการแบ่งงานกันทำ ให้ตกลงรายละเอียดในการต่อเชื่อมชิ้นงานที่ชัดเจนด้วย
          3. พัฒนาระบบงานด้วยความละเอียดรอบคอบ และบันทึกข้อมูลไว้อย่างเป็นระบบและครบถ้วน
     4.3 การทดสอบผลงานและแก้ไข
          การตรวจสอบความถูกต้องของผลงาน เป็นความจำเป็นเพื่อให้แน่ใจว่าผลงานที่พัฒนาขึ้นทำงานได้ถูกต้องตรงกับความต้องการ ที่ระบุไว้ในเป้าหมายและทำด้วยประสิทธิภาพสูงด้วย
     4.4 การอภิปรายและข้อเสนอแนะ
          เมื่อพัฒนาผลงานเรียบร้อยแล้ว ให้จัดทำสรุปด้วยข้อความที่สั้นกะทัดรัดอย่างครอบคลุม เพื่อช่วยให้ผู้อ่านได้เข้าใจถึงสิ่งที่ค้นพบจากการทำโครงงาน และทำการอภิปรายผลด้วย เพื่อพิจารณาข้อมูลและผลที่ได้ พร้อมกับนำ ไปหาความสัมพันธ์กับหลักการ ทฤษฎี หรือผลงานที่ผู้อื่นได้ศึกษาไว้แล้ว ทั้งนี้ยังรวมถึงการนำหลักการ ทฤษฎี หรือผลงานของผู้อื่นมาใช้ประกอบการอภิปรายผลที่ได้ด้วย
     4.5 แนวทางการพัฒนาโครงงานในอนาคตและข้อเสนอแนะ
          เมื่อทำโครงงานเสร็จสิ้นลงแล้ว นักเรียนอาจพบข้อสังเกต ประเด็นที่สำคัญ หรือปัญหา ซึ่งสามารถเขียนเป็นข้อเสนอแนะและสิ่งที่ควรจะศึกษาและหรือใช้ประโยชน์ต่อไปได้ 
5. การเขียนรายงาน
          การเขียนรายงานเป็นวิธีการสื่อความหมายเพื่อให้ผู้อื่นได้เข้าใจแนวคิด วิธีดำเนินการศึกษาค้นคว้า ข้อมูลที่ได้ ตลอดจนข้อสรุปและข้อเสนอแนะต่างๆ เกี่ยวกับโครงงานนั้น ในการเขียนรายงานนักเรียนควรใช้ภาษาที่อ่านง่าย ชัดเจน กระชับ และตรงไปตรงมา ให้ครอบคลุมหัวข้อต่างๆเหล่านี้
     5.1 ส่วนนำ
          ส่วนนำ เป็นการให้ข้อมูลเกี่ยวกับโครงงานนั้นซึ่งประกอบด้วย
          1. ชื่อโครงงาน
          2. ชื่อผู้ทำโครงงาน
          3. ชื่ออาจารย์ที่ปรึกษา
          4. คำขอบคุณ เป็นคำกล่าวขอบคุณบุคคลหรือหน่วยงาน ที่มีส่วนช่วยทำให้โครงงานสำเร็จ
          5. บทคัดย่อ อธิบายถึงที่มา ความสำคัญ วัตถุประสงค์ วิธีดำเนินการ และผลที่ได้โดยย่อ
     5.2 บทนำ
          บทนำเป็นส่วนรายละเอียดของเนื้อหาของโครงงานซึ่งประกอบด้วย
          1. ที่มาและความสำคัญของโครงงาน
          2. เป้าหมายของการศึกษาค้นคว้า
          3. ขอบเขตของโครงงาน
     5.3 หลักการและทฤษฎี
          หลักการและทฤษฎี เป็นส่วนสรุปข้อมูลที่ได้จากการศึกษาหาข้อมูลหรือหลักการ ทฤษฎี หรือวิธีการที่จะนำมาใช้ในการพัฒนาโครงงาน ซึ่งรวมถึงการระบุผลงานของผู้อื่นที่นักเรียนนำมาเปรียบเทียบหรือพัฒนาเพิ่มเติมด้วย
     5.4 วิธีดำเนินการ
          วิธีดำเนินการ อธิบายขั้นตอนการดำเนินงานโดยละเอียด พร้อมทั้งระบุปัญหาหรืออุปสรรคที่พบพร้อมทั้งวิธีการที่ใช้แก้ไข พร้อมทั้งระบุวัสดุอุปกรณ์ที่ต้องใช้ในการทำงาน
     5.5 ผลการศึกษา
          ผลการศึกษา นำเสนอข้อมูลหรือระบบที่พัฒนาได้ โดยอาจแสดงเป็นตาราง หรือ กราฟ หรือข้อความ ทั้งนี้ให้คำนึงถึงความเข้าใจของผู้อ่านเป็นหลัก
     5.6 สรุปผลและข้อเสนอแนะ
          สรุปผลและข้อเสนอแนะ อธิบายผลสรุปที่ได้จากการทำ งาน ถ้ามีการตั้งสมมติฐานควรระบุด้วยว่าข้อมูลที่ได้สนับสนุนหรือคัดค้านสมมติฐานที่ตั้งไว้หรือยังสรุปไม่ได้ นอกจากนั้นยังควรกล่าวถึงการนำ ผลการทดลองหรือพัฒนาไปใช้ประโยชน์ อุปสรรคของการทำโครงงาน หรือข้อสังเกตที่สำคัญ หรือข้อผิดพลาดบางประการที่เกิดขึ้นจากการทำ โครงงานนี้ รวมทั้งข้อเสนอแนะเพื่อการปรับปรุงแก้ไขหากจะมีผู้ศึกษาค้นคว้าในเรื่องทำนองนี้ต่อไปในอนาคตด้วย
     5.7 ประโยชน์
          ประโยชน์ที่ได้รับจากโครงงาน ระบุประโยชน์ที่นักเรียนได้รับจากการพัฒนาโครงงานนั้น และประโยชน์ที่ผู้ใช้จะได้รับจากการนำผลงานของโครงงานไปใช้ด้วย
     5.8 บรรณานุกรม
          บรรณานุกรม รวบรวมรายชื่อหนังสือ วารสาร เอกสาร หรือเว็บไซด์ต่างๆ ที่ผู้ทำ โครงงานใช้ค้นคว้า หรืออ่านเพื่อศึกษาข้อมูลและรายละเอียดต่างๆ ที่นำมาใช้ประโยชน์ในการทำ โครงงานนี้การเขียนเอกสารบรรณานุกรมต้องให้ถูกต้องตามหลักการเขียนด้วย
     5.9 การจัดทำคู่มือการใช้งาน
          หาโครงงานที่นักเรียนจัดทำ เป็นการพัฒนาระบบใหม่ขึ้นมา ให้นักเรียนจัดทำคู่มืออธิบายวิธีการใช้ผลงานนั้นโดยละเอียด ซึ่งประกอบด้วย
          1. ชื่อผลงาน
          2. ความต้องการของระบบคอมพิวเตอร์ ระบุรายละเอียดของคอมพิวเตอร์ที่ต้องมีเพื่อจะใช้ผลงานนั้นได้
          3. ความต้องการของซอฟต์แวร์ ระบุรายชื่อซอฟต์แวร์ที่ต้องมีอยู่ในเครื่องคอมพิวเตอร์ เพื่อจะให้ผลงานนั้นทำงานได้อย่างสมบูรณ์
          4. คุณลักษณะของผลงาน อธิบายว่าผลงานนั้นทำ หน้าที่อะไรบ้าง รับอะไรเป็นข้อมูลขาเข้าและส่วนอะไรออกมาเป็นข้อมูลขาออก
          5. วิธีการใช้งานของแต่ละฟังก์ชัน อธิบายว่าจะต้องกดคำสั่งใด หรือกดปุ่มใด เพื่อให้ผลงานทำงานในฟังก์ชันหนึ่งๆ  
6. การนำเสนอและแสดงโครงงาน
          การนำเสนอและการแสดงผลงานเป็นขั้นตอนที่สำคัญอีกขั้นตอนหนึ่งของการทำโครงงาน เพื่อแสดงออกถึงผลิตผลความคิด ความพยายามในการทำงานที่ผู้ทำโครงงานได้ทุ่มเท และเป็นวิธีทำให้ผู้อื่นได้รับรู้และเข้าใจถึงผลงานนั้น การเสนอผลงานอาจทำได้ในหลายรูปแบบต่างๆ กัน เช่น การแสดงผลงานโดยไม่มีการอธิบายประกอบการรายงานด้วยคำพูดในที่ประชุม การจัดนิทรรศการโดยโปสเตอร์และอธิบายด้วยคำพูด เป็นต้น โดยผลงานที่นำมาเสนอหรือจัดแสดงควรประกอบด้วยสิ่งต่อไปนี้
          1. ชื่อโครงงาน
          2. ชื่อผู้จัดทำโครงงาน
          3. ชื่ออาจารย์ที่ปรึกษา
          4. คำอธิบายถึงที่มาและความสำคัญของโครงงาน
          5. วิธีการดำเนินการที่สำคัญ
          6. การสาธิตผลงาน
          7. ผลการสังเกตและข้อสรุปสำคัญที่ได้จากการทำโครงงาน

วันพุธที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2557

Word of Computer


  

Word of Computer
1.background processing :การประมวลผลส่วนหลัง
2.booting the system :การเริ่มทำงานของระบบ
3.BASIC :ภาษาเบสิก
4.backup :การสำรอง
5.buffer :ที่พักข้อมูล ที่ปรับอัตรา หรือกันชน
6.bug :จุดบกพร่อง
7.bus :บัส
8.byte :ไบต์
9.cache memory :หน่วยความจำแบบแคช
10.CAD/CAM :การออกแบบและผลิตโดยใช้คอมพิวเตอร์ช่วย
11.CAI :การสอนใช้คอมพิวเตอร์ช่วย
12.control program :โปรแกรมควบคุม
13.control unit :หน่วยควบคุม
14.cylinder :ทรงกระบอก
15.coursor :ตัวชี้ตำแหน่ง
16.data :ข้อมูล
17.data base :ฐานข้อมูล
18.channel :ช่องสัญญาณหรือร่องข้อมูล
19.chip : ชิป
20.compiler :ตัวแปลชุดคำสั่งหรือชุดคำสั่งแปลชุดคำสั่ง
21.computer :คอมพิวเตอร์หรือคณิตกร
22.computer network :ข่ายงาน หรือเครือข่ายคอมพิวเตอร์
23.computer operator :การดำเนินการคอมพิวเตอร์หรือการปฏิบัติการคอมพิวเตอร์
24.console :ส่วนเฝ้าคุมหรือจอเฝ้าคุม
25.data entry operator :พนักงานป้อนข้อมูล
26.data processing :การประมวลผลข้อมูล
27.debug :แก้จุดบกพร่อง
28.diskette :แผ่นบันทึก
29.documnutation :การจัดทำเอกสาร
30.editor :บรรณาธิกรณ์หรือบรรณาธิการ
31.EPROM :หน่วยความจำโปรแกรมลบได้
32.hard disk :จานบันทึกแบบแข็ง
33.hardware :ส่วนเครื่อง หรือส่วนอุปกรณ์
34.input/output :รับเข้า/ส่งออก
35.instruction :คำสั่งหรือคำสั่งเครื่อง
36.high-level language :ภาษาระดับสูง
37.expert system :ระบบผู้เชี่ยวชาญ
38.interface :ตัวเชื่อมประสาน
39.field :เขตข้อมูล
40.fiber-optic cable :สายเส้นใยนำแสง
41.flowchart :ผังงาน
42.function :ส่วนหน้าที่ย่อย
43.hard copy :สำเนาถาวรหรือสิ่งพิมพ์ออก
44.mainframe :คอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่
45.menu :รายการเลือก
46.master file :แฟ้มข้อมูลหลัก
47.interpreter :ตัวแปลคำสั่งหรือชุดคำสั่งแปลคำสั่ง
48.ISAM :วิธีเข้าถึงลำดับดรรชนี
49.item :หน่วยข้อมูล
50.LST :วงจรรวมความจุสูง










วันพุธที่ 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2557

เว็บเบราเซอร์ ( Web Browser )

หาข้อมูล ตอบคำถาม 3 ข้อดังนี้

1. นักเรียนใช้ Internet สำหรับทำไรบ้าง 10 อย่าง

  • ใช้ในการค้นหาข้อมูล
  • ใช้ในการศึกษา
  • ใช้ในการสนทนา
  • ใช้ในการทำงาน
  • ใช้ในการแลกเปลี่ยนข้อมูลหรือแสดงความคิดเห็น
  • ใช้เพื่อความบันเทิง
  • ใช้ในการซื้อของ
  • ใช้ในการส่งงาน
  • สามารถตรวจสอบบัญชีธนาคาร
  • ใช้ในการดูหนัง ฟังเพลง



2. เว็บเบราเซอร์ หมายถึงอะไร

  • แอพพลิเคชัน (ซอฟต์แวร์ประยุกต์ที่พัฒนาขึ้นมา เพื่อใช้งานเฉพาะทาง) ที่ใช้สำหรับสืบค้น(browse) และแสดงหน้าเว็บ (webpage) ต่างๆ ที่อยู่ในเว็บเซิร์ฟเวอร์บนอินเทอร์เน็ต โดยบราวเซอร์ยอดนิยมจะมีอยู่ 2 ตัวด้วยกันคือ Internet Explorerและ Firefox ซึ่งบราวเซอร์พวกนี้จะสามารถแสดงผลหน้าเว็บที่จัดทำออกมาในรูปแบบของมัลติมี เดีย (ข้อความ ภาพ เสียง และวิดีโอ) ได้อย่างสมบูรณ์




3. ยกตัวอย่างเว็บเบราเซอร์ มา 4 โปรแกรม